วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553
Les Pronoms Possessifs
Les Pronoms Possessifs คือ คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ เวลาใช้จะไม่มีคำนามอีก จะกล่าวถึง สิ่งนั้น ที่เคยกล่าวเป็น Adj.P. แล้ว มีดังนี้ Je le mien (n.m.s.) la mienne (n.f.s.) les miens (n.m.p.) les miennes (n.f.p.) Tu le tien (n.m.s.) la tienne (n.f.s.) les tiens (n.m.p.) les tiennes (n.f.p.) Il / Elle le sien (n.m.s.) la sienne (n.f.s.) les siens (n.m.p.) les siennes (n.f.p.) Nous le nôtre (n.m.s.) la nôtre (n.f.s.) les nôtres (n.m/f.p.) Vous le vôtre (n.m.s.) la vôtre (n.f.s.) les vôtres (n.m/f.p.)Ils / Elles le leur (n.m.s.) la leur (n.f.s.) les leurs (n.m/f.p.)*(n.m.s.) = คำนามเพศชาย เอกพจน์ (n.f.s.) = คำนามเพศหญิง เอกพจน์ (n.m.p.) = คำนามเพศชาย พหูพจน์ (n.f.p.) = คำนามเพศหญิง พหูพจน์ (n.m/f.p.) = คำนามเพศชาย หรือ เพศหญิง พหูพจน์วิธีการใช้ Les Pronoms Possessifs 1. หาเจ้าของ ของคำนามที่เคยกล่าวถึงแล้ว 2. ดูเพศและพจน์ของคำนาม Sa maison est grande; la mienne est petite. (บ้านของเขาใหญ่ บ้านของฉันเล็ก) la mienne มาจาก ma maison แต่ไม่นิยมกล่าวซ้ำจึงใช้เป็น Pronom Possessif แทน Pour les vieux sans famille leurs misères sont plus grandes que les vôtres. (ความทุกข์ของคนแก่ที่ไม่มีครอบครัวใหญ่กว่าความทุกข์ของพวกคุณ) les vôtres มาจาก vos misères
Les Pronoms Relatifs Variables
lequel แทนคำนามเพศชายเอกพจน์
laquelle แทนคำนามเพศหญิงเอกพจน์
lesquels แทนคำนามเพศชายพหูพจน์
lesquelles แทนคำนามเพศหญิงพหูพจน์
ซึ่งประพันธสรรพนามในหมวดนี้ จะใช้เชื่อมประโยคที่ตามหลังด้วยบุพบท
วิธีใช้ คือ
1. หาบุพบทที่อยู่หน้าคำนามที่ซ้ำกัน
2. เปลี่ยนเป็นคำนาม Pronom Relatif Variable โดยต้องมีเพศและพจน์เดี่ยวกับคำนาม
3. ซ้ำคำไหน ยกคำบุพบท และ Pronom Relatif Variable ไปไว้หลังคำนั้นและตามด้วยประโยคที่เหลือ
ในกรณีที่บุพบทที่นำหน้าเป็น à หรือ de
à + lequel = auquel de + lequel = duquel
à + laquelle = à laquelle de + laquelle = de laquelle
à + lesquels = auxquels de + lesquels = desquels
à + lesquelles = auxquelles de + lesquelles = desquelles
การใช้ P.R.V. (les Pronoms Relatifs Varibles)
Voici le coiffeur. Je vais souvent chez le coiffeur.
1. หาบุพบทและคำซ้ำ - chez le coiffeur
2. เปลี่ยนเป็น P.R.V. - chez lequel
3. ซ้ำคำไหนยกไปไว้หลังคำนั้น จะได้ประโยคใหม่ว่า
Voici le coiffeur chez lequel je vais souvent.
Les cours sont le cours de français et celui d'italian. Je m'intéresse à ces cours.
1. หาบุพบทและคำซ้ำ - à ces cours.
2. เปลี่ยนเป็น P.R.V. - auxquels
3. ซ้ำคำไหนยกไปไว้หลังคำนั้น จะได้ประโยคใหม่ว่า
Les cours auxquels je m'intéresse sont le cours de francais et celui d'italian.
L'été est une saison. Il fait très chaud pendant cette saison.
1. หาบุพบทและคำซ้ำ - pendant cette saison.
2. เปลี่ยนเป็น P.R.V. - pendant laquelle
3. ซ้ำคำไหนยกไปไว้หลังคำนั้น จะได้ประโยคใหม่ว่า
L'été est une saison pendant laquelle il fait très chaud.
Les Pronoms Relatifs Invariables
วิธีการเชื่อมประโยค
1. หาคำซ้ำในทั้ง 2 ประโยค
2. ดูหน้าที่ของคำที่ซ้ำในประโยคที่ 2
3. ซ้ำคำไหน ยกประพันธสรรพนามและประโยคย่อยไปไว้หลังคำนั้น คำที่อยู่ด้านหน้าประพันธสรรพนามนั้นเรียกว่า antécédent
Qui ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยคย่อย แทนนามหรือสรรพนามของประโยคที่อยู่ด้านหน้า ( qui + V. )
J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.
มาจาก 2 ประโยคคือ
J'ai dîné dans un restaurant. Le restaurant est près de chez nous.
1. หาคำซ้ำ - le restaurant.
2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นประธานแทนด้วย qui
3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.
Nous voyons des enfants qui reviennent de la plage.
มาจาก 2 ประโยค คือ
Nous voyons des enfants. Les enfants reviennent de la plage.
Que ทำหน้าที่เป็น"กรรมตรง" ของกริยาในประโยคย่อย que จะมีเพศและพจน์ตาม antécédent ( que + ประโยค )
Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.
มาจาก 2 ประโยค คือ
Le marché flottant est à Damnarn Saduak. J'ai visité le marché flottant.
1. หาคำซ้ำ - Le marché flottant.
2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงแทนด้วย que
3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.
Voici le pont que je traverse pour aller à l'université.
มาจาก 2 ประโยค คือ
Voici le pont. Je traverse le pont pour aller à l'université.
Dont มีวิธีการใช้ 2 อย่าง คือ
1. แทนคำนามในประโยคย่อยที่มี de นำหน้า (คำนามที่ตามหลังกริยาที่มี de) เช่น
V.avoir envie de อยาก
V.avoir besoin de ต้องการ
V.penser de คิดเกี่ยวกับ
V.parler de พูดเกี่ยวกับ
V.se servir de ใช้
C'est un livre dont j'ai besoin.
มาจาก 2 ประโยค คือ
C'est un livre. J'ai besoin de ce livre.
C'est la voiture dont son père se sert.
มาจาก 2 ประโยค คือ
C'est la voiture. Son père se sert de cette voiture.
C'est un problème dont je pense souvent.
มาจาก 2 ประโยค คือ
C'est un problème. Je pense de ce problème souvent.
2. แทนคำนามที่ตามหลัง de แปลว่า ของ หรือการแสดงความเป็นเจ้าของ
Voici mon amie dont le nom est Simone.
มาจากประโยค
Voici mon amie, le nom de cette amie est Simone.
Voici la rue de la ville dont je ne connais pas le nom.
มาจากประโยค
Voici la rue de la ville, je ne connais pas le nom de la ville.
J'aime la maison dont le jardin est beau.
มาจาก 2 ประโยค คือ
J'aime la maison. Son jardin est beau. (Le jardin de la maison)
*คำนามที่ตามหลัง dont ต้องขึ้นต้นด้วย le la les
Où มีวิธีใช้ ดังนี้
1. แทนสถานที่
Il me parle du pays où il a passé son enfance.
(ไม่ใช่กรรมตรงของประโยคที่ 2 แต่เป็นส่วนขยาย)
La piscine où nous nous baignons est très propre.
2. แทนเวลา
Le dimanche est le jour où l'on ne travaille pas.
C'est à huit heures où les enfants vont à l'école.
P.S.
1. qui + V. / que + ประโยค
2. บางครั้งประโยคย่อยอาจสลับตำแหน่ง V. กับ Sujet ต้องดูให้ดีว่ากริยานั้นประธานตัวใดเป็นผู้กระทำ เช่น J'aime la maison que habitent les Dubois. V.habiter ไม่ได้กระจายกับ la maison แต่กระจายกับ les Dubois
3. ใน Le Passé Composé ประโยคใดมี que ต้อง accord ตาม antécédent เช่น J'aime beaucoup les pommes que ma mère a achetées ce matin. เป็นต้น
4. ถ้าประโยคย่อยอันไหนดูที่ V. แล้วเป็น V. ที่ต้องมีกรรม แต่ในประโยคไม่มีกรรม ใช้ que
5. หาก เวลาและสถานที่ เป็นกรรมของประโยค ต้องใช้ que
6. หากดูแล้วว่ามันไม่ใช่ทั้งประธาน ไม่ใช่กรรม และไม่มี de นำ เป็น où ได้เท่านั้น (หลายคนใช้ où ไม่ถูกต้อง)
Les Pronoms Personnels
1. Sujets เป็นประธาน
2. Objets directs เป็นกรรมตรง
3. Objets indirects เป็นกรรมรอง
4. Objets après une préposition เป็นกรรมตามหลังบุพบท
รูปของ Pronoms Personnels มีดังนี้
Sujets Objets direct (C.O.D.) Objets indi rect (C.O.I) Pronoms Toniques
Je me me moi
Tu te te toi
Il le lui lui
Elle la lui elle
Nous nous nous nous
Vous vous vous vous
Ils les leur eux
Elles les leur elles
Sujet คือ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
Objets direct คือ กรรมตรงของประโยค กรรมตรงคือ คำนามที่ตามหลังประโยคโดยไม่มีบุพบทมาคั่น คำนามนั้นจัดว่าเป็นกรรมตรง เช่น
Hier, j'ai vu ta soeur.
ta soeur เป็นเพศหญิง เอกพจน์ จึงแทนด้วย la แล้วนำมาไว้หน้า V.
- Hier, je l'ai vue (ลดรูปเพราะติดสระ และ accord ตามเพศประธานตามกฏของการaccord le passé composé.)
Nous regardons cet arbre.
cet arbre เป็นเพศชาย เอกพจน์ จึงแทนด้วย le แล้วนำมาไว้ หน้า V.
- Nous le regardons.
Objets indirects คือ กรรมรองที่จะใช้กับคนเท่านั้น V.ที่มีคำบุพบทขั้นหน้าคำนาม(คน) จัดเป็นกรรมรอง เช่น à + คน
Je parle à Paul
à Paul เป็น กรรมรอง เพศชาย เอกพจน์ จึงเปลี่ยนเป็น lui แล้วนำไปวางหน้า V.
- Je lui parle.
Est-ce que tu donne ces deux timbres à moi ?
ในประโยคนี้มีทั้งกรรมตรง และ กรรมรองในประโยค ในตอนนี้ดูทื่กรรมรองก่อน ก็คือ à moi คือ ให้กับฉัน จึงเปลี่ยนเป็น me และสามารถเขียนใหม่ได้ว่า
- Est-ce que tu me donne ces deux timbres ?
และกรรมตรงในประโยคนี้ก็คือ ces deux timbres เป็นเพศชาย พหูพจน์ก็คือ les เราสามารถตอบประโยคนี้ได้ว่า
- Oui, je me les donne.
*มีกิริยา 2 ตัว ที่ตามหลัง à แต่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น กรรมรองได้ คือ
V.être à - เป็นเจ้าของ
V.penser à - คิดถึง
Pronoms Toniques กรรมที่ตามหลังคำบุพบท ทำหน้าที่ตรงตามชื่อของมัน คือเป็นกรรมที่ตามหลังคำบุพบท เช่น
Est-ce que tu es chez toi ?
toi อยู่หลัง บุพบท chez (ที่บ้าน) ถามว่า เธออยู่ที่บ้านของเธอมั้ย ไม่เขียนว่า Est-ce que tu es chez tu ? หลัง บุพบทต้องเปลี่ยน tu เป็น toi
- Oui, je suis chez moi.
Est-ce que Simine sort avec Pierre ?
- Oui, elle sort avec lui.
*กรรมหลังคำบุพบทนี้ ไม่เพียงแต่อยู่หลังคำบุพบทเท่านั้น แต่หากว่าอยู่ด้านหน้าประโยค จะเป็นการเน้นประธานตัวนั้น
Moi, je prends mes valises. Lui, il prend les sienne.
En
En เป็น Pronom Personnel Invariable หรือ บุรุษสรรพนามที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
วิธีใช้
1. ใช้แทนคำนามที่ตามหลัง de ซึ่งจะตามหลัง V. หรือ Adj. เช่น
V.avoir besoin de - ต้องการ
V.se souvenir de - ใช้
V.être fier de - ภูมิใจ
เป็นต้น
Est-ce que tu te souviens des leçon de français ?
- Oui, je m'en souviens.
Elle a réussi à l'examen. Elle en est fière.
en ในที่นี้มาจาก Elle est fière de l'examen.
2. ใช้แทนนามที่ตามหลัง du , de la , de l' , des (Articles Partitifs) ซึ่งเป็นนามนับไม่ได้ บางเพียงส่วน ส่วนหนึ่ง
Est-ce que vous voulez encore de l'eau ?
คุณต้องการน้ำอีกมั้ย
- Non merci, je n'en veux plus.
ไม่ครับ ขอบคุณ ฉันไม่ต้องการมันแล้ว มาจาก je ne veux plus de l'eau.
Vous buvez du café noir ?
คุณดื่มกาแฟดำมั้ย
- Non, je n'en prends jamais.
ไม่ครับ ผมไม่เคยดื่มมันเลย มาจาก je ne prends jamais du café noir.
3. แทนคำนามที่ตามหลังด้วยตัวเลขบอกจำนวน หรือ คำคุณศัพท์ที่บอกปริมาณ
Combien d'enfants avez-vous ?
คุณมีลูกกี่คน
- J'en ai deux.
ฉันมีลูกสองคน มาจาก j'ai deux enfants แต่ว่าเราได้กล่าวถึงคำนามนั้นมาแล้ว จึงแทนด้วย en ได้
Il y a beaucoup de Français en Thaïlande ?
มีคนฝรั่งเศสในประเทศไทยเยอะรึเปล่า
- Non , il y en a peu.
ไม่ล่ะ มีนิดเดียว มาจาก il y a peu de Français. de Français ตามหลังคำคุณศัพท์บอกจำนวน จึงเปลี่ยนเป็น en
Y
y เป็น Pronom Personnel Invariable เช่นเดียวกัน
วิธีใช้
1. ใช้แทนคำนามที่เป็น สิ่งของ สถานที่ ที่ตามหลังด้วยบุพบท à
Cette lettre ? Je vais y répondre.
จดหมายนี่เหรอ เดี๋ยวฉันจะตอบมัน มาจาก Je vais répondre à la lettre.
Tu iras à la plage en vacances ?
ตอนวันหยุดเธอจะไปทะเลมั้ย
- Oui , j'y irai.
จ๊ะ ฉันจะไป มาจาก j'irai à la plage.
2. แทนคำนามที่ตามหลัง คำบุพบทบอกสถานที่เหล่านี้
en / dans - ใน
sur - บน sous - ใต้
chez - ที่บ้าน
à - ที่
devant - ข้างหน้า derrièr - ข้างหลัง
Les devoirs sont - ils sur la table ?
การบ้านอ่ะ อยู่บนโต๊ะรึเปล่า
- Oui , ils y sont depuis une semaine.
ใช่ มันอยู่บนนั้นมาตั้งสัปดาห์นึงแล้ว มาจาก ils sont sur la table depuis une semaine.
Est-ce que vous irez chez moi ce soir ?
นี่พวกแกจะไปบ้านฉันมั้ยเย็นนี้
- Mais oui , on y ira.
แน่นอน พวกเราไปแน่ มาจาก on ira chez toi.
Le (Pronom Neutre)
วิธีใช้
1. ใช้แทน Adj. หรือ คำนามบอกอาชีพ ที่ตามหลัง V.être ที่กล่าวมาแล้ว
Vos enfants sont malades ?
ลูกๆของเธอไม่สบายเหรอ
- Oui , ils le sont.
อื้ม พวกเขาป่วย มาจาก ils sont malades แต่ Adj. นั้นถูกกล่าวมาแล้วจึงแทนด้วย le
Est-ce que ton père est médecin ?
พ่อเธอเป็นหมอเหรอ
- Non , il ne l'est pas. Il est professeur.
ไม่ใช่อ่ะ ไม่ได้เป็นหมอ เป็นครูต่างหาก มาจาก il n'est pas médecin.
2. แทนประโยคทั้งประโยค ที่กล่าวถึงมาแล้ว
Mes parents me demandent de travailler plus dur mais je ne le peux pas.
พ่อแม่ฉันบอกสั่งว่า ให้ฉันทำงานหนักกว่านี้ แต่ ฉันทำมัน(เรียนหนัก)ไม่ได้
le แทนประโยคข้างหน้า
Qui a pris mon stylo ? Le savez-vous ?
ใครเอาปากกาฉันไปเนี้ย เธอรู้มั้ย(ว่าใครเอาปากกาฉันไป)
วิธีการเรียง Pronom Personnel
ในบางกรณีบาง Pronom Personnel หลายตัวในประโยคเดียวกัน วิธีการที่จะเรียงให้ถูกต้อง คือ
Sujet me le lui y en
te la leur V.
se les
nous
vous
* Pronom ตัวนั้นเป็นของ V. ใดต้องอยู่หน้า V. นั้นๆ
วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553
Les Articles Contractés
1. Article Contracté ประเภทแรก คือการรวม de กับ les articles définis มี ทั้งหมด 4 รูป คือ
du คือ de + le นำหน้าคำนามเพศชายเอกพจน์
de la คือ de + la นำหน้าคำนามเพศหญิงเอกพจน์
de l' คือ de + l' นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่นำหน้าด้วยสระหรือ h muet
des คือ de + les นำหน้าคำนามทั้งเพศหญิงเพศชาย พหูพจน์
*คำนำหน้านามเหล่านี้ หากอยู่ระหว่างคำนาม แปลว่า "ของ"
Le pontalon du professeur est brun.
กางเกงของคุณครูเป็นสีน้ำตาล
Les aiguilles de la montre sont noires.
เข็มของนาฬิกาเป็นสีดำ
La longue aiguille de l'horloge ne marche plus.
เข็มยาวของนาฬิกาไม่เดินอีกแล้ว
Les robes des filles sont roses.
ชุดกระโปรงของเด็กผู้หญิงเป็นสีชมพู
**แต่ถ้าคำนามด้านหลังเป็นชื่อเฉพาะ ใช้ de ได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนรูป
**การใช้ des ซึ่งซ้ำกับ Les articles indéfinis หากแปลแล้วได้ใจความว่า"เป็นของ" จึงเป็น Article Contracté
2. Article Constracté ประเภที่ 2 คือการรวม à กับ les articles indéfinis ทั้งหมดมี 4 รูป คือ
au คือ à + le นำหน้าคำนามเพศชาย เอกพจน์
à la คือ à + la นำหน้าคำนามเพศหญิง เอกพจน์
à l' คือ à + l' นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง เอกพจน์ ที่ขึ้นต้นด้วย สระ หรือ h muet
aux คือ à + les นำหน้าคำนามทั้งเพศชาย และเพศหญิง พหูพจน์
*คำนำหน้านามเหล่านี้จะตามหลัง V.บางตัว แปลว่า "กับ / แก่"
L'étudiante parle au professeur.
นักเรียนหญิงคุยกับครู
Le professeur donne les livres à la femme professeur.
ครูผู้ชายให้หนังสือแก่ครูผู้หญิง
La professeur donne les livres à l'étudiant.
ครูให้หนังสือกับเด็กนักเรียน
L'étudiant donne les livres aux amis.
นักเรียนให้หนังสือกับเพื่อนๆ
Les Articles définis
le นำหน้าคำนามเพศชาย เอกพจน์
la นำหน้าคำนามเพศหญิง เอกพจน์
l' นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง เอกพจน์ แต่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือ h muet
les นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง พหูพจน์
การใช้ Les articles définis มีดังนี้
1. ใช้นำหน้าคำนามที่มีการกล่าวถึงแล้ว
Voilà une fille, maintenant la fille est en train de s'approcher.
นั้นไงเด็กผู้หญิงคนนึง ตอนนี้เด็กผู้หญิงคนนั้นกำลังเข้ามาใกล้ๆแล้ว...
2. นำหน้านามที่มีสิ่งเดียวในโลก
Le soliel (ดวงอาทิตย์)
La Seine (แม่น้ำแซน)
La France (ประเทศฝรั่งเศส)
L'Asie (ทวีปเอเชีย)
3. ใช้นำหน้านามที่ต้องการชี้เฉพาะ
Le dentiste que j'ai vu. il est très beau.
หมอฟันคนนี้ที่ฉันไปพบมาน่ะเธอ เขาหล๊อ หล่อ ล่ะ
Les Articles Indefinis
un นำหน้าคำนามเพศชายเอกพจน์
une นำหน้าคำนามเพศหญิงเอกพจน์
des นำหน้าคำนามพหูพจน์ทั้ง 2 เพศ
Ce matin, j'ai vu un homme qui a été heurté.
เมื่อเช้านี้ ฉันเห็นผู้ชายคนหนึ่ง โดนรถชน
Ne sortez pas seul la nuit il y a partout des voleurs.
อย่าออกไปข้างนอกคนเดียวตอนกลางคืนนะ เพราะว่ามีพวกขโมยอยู่ทุกหนทุกแห่ง
Une dame m'a raconté des histoires intéressantes.
ผู้หณิงคนหนึ่งเล่าเรื่องน่าสนใจให้ฉันฟัง
*เพิ่มเติม
1. ในประโยคปฏิเสธ ยกเว้นประโยคที่ใช้ V.être คำนำหน้านาม un une des จะเปลี่ยนเป็น de
Elle n'achète pas de robes de cette boutique.
หล่อนไม่ซื้อกระโปรงจากร้านนี้
Dans cette chambre, il n'y a pas de lit.
ในห้องนี้ ไม่มีเตียง
Elle n'est pas une fille timide.
หล่อนไม่ใช่เด็กผู้หญิงขี้อาย
2. des เปลี่ยนเป็น de เมื่ออยู่หน้าคำนามที่มีคำคุณศัพท์ที่เป็นพหูพจน์ อยู่ด้านหน้า
Simone a reçu de belles fleurs.
ซีโมนได้รับดอกไม้สวยๆ
Le gouvernement a construit de nouvelles maisons pour les pauvres.
รัฐบาลได้สร้างบ้านใหม่ให้กับคนยากจน
**adj. ของภาษาฝรั่งเศสส่วนใหญ่จะวางไว้หลังคำนาม แต่มี adj. บางตัวที่อยู่หน้าคำนามเสมอ คือ
beau (belle) / laid (หล่อ (สวย) / ขี้เหร่)
grand / petit (ใหญ่ / เล็ก)
bon / mauvais (ดี / เลว)
longue (ยาว)
Nom
สี
สัญชาติ
ลักษณะ
adj. 3 พยางค์ขึ้นไป
court (สั้น)
P.S. การบอกอาชีพ ไม่มี Article เช่น
Je suis étudiant. เป็นต้น
Discours Indirects
Discours Directs - Simone dit "J'ai manqué le train de 8 h."
Discours Indirects - Simone dit qu'elle a manqué le train de 8 h."
ซึ่งการใช้เรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งคือ คำเชื่อม ตัวประธาน และการกระจายกริยา
1. ประโยคบอกเล่า ใช้ que เชื่อม
Tu dois partir demain. (เธอต้องไปพรุ่งนี้)
Pierre dit à Paul qu'il doit partir demain. (ปิแยร์บอกกับปอลว่าเขาต้องไปพรุ่งนี้)
2. ประโยคคำสั่ง ใช้ de + Vinf.
Viens vite! (เธอมาเร็วๆ)
Je te dis de venir vite. (ฉันบอกเธอให้มาเร็วๆ)
Ne faites pas de bruit! (คุณอย่าส่งเสียงดังนะ)
Les filles leur demandent de ne pas faire de bruit. (เด็กผู้หญิงสั่งพวกเขาว่าอย่าส่งเสียงดังนะ)
Lève toi! (เธอจงลุกขึ้น)
Le professeur lui dit de se lever. (ครูบอกให้เขาลุกขึ้น)
3. ประโยคคำถามตอบ Oui / Non ใช้ si เชื่อม
Vas-tu sortir ? (เธอจะออกไปไหม)
Maman me demande si je vais sortir. (แม่ถามฉันว่าฉันจะออกไปข้างนอกไหม)
Est-ce que Nadine part ? (นาดีนไปหรือยัง)
Ses amis me demandent si Nadine part. (เพื่อนๆของหล่อนถามว่านาดีนไปรึยัง)
4. ประโยคคำถามที่มีคำแสดงคำถาม ใช้คำแสดงคำถามเชื่อม
Quand partez-vous ? (คุณจะไปเมื่อไหร่เนี้ย)
Dites-moi quand vous partez. (บอกฉันสิว่าคุณจะไปเมื่อไหร่)
Pouquoi pleures-tu ? (ร้องไห้ทำไมเธอ...)
Je ne sais pas pourquoi tu pleures. (ฉันไม่รู้ว่าทำไมเธอถึงร้องไห้)
5. ประโยคคำถาม Qui / Qui est-ce qui / Qui est-ce que ใช้ qui เชื่อม
Qui vient ? (ใครมา)
Je me demande qui vient. (ฉันสงสัยว่าใครมา)
Qui est-ce que ton père rencontre? (ใครที่พ่อของเธอพบอ่ะ)
Je ne sais pas qui ton père rencontre (ฉันไม่รู้ว่าพ่อเจอใคร)
6. ประโยคคำถาม Que / Qu'est-ce que ใช้ ce que เชื่อม
Que fais-tu ? (เธอทำอะไร...)
Dis-moi ce que tu fais. (บอกฉันสิว่าเธอทำอะไร) (จงบอกฉันสิ่งซึ่งเธอทำ)
Qu'est-ce que tu manges? (เธอทานอะไรอ่ะ)
Dis-moi ce que tu manges. (บอกมาสิๆ ว่าเธอทานอะไร)
7. ประโยคคำถาม Qu'est-ce qui ใช้ ce qui เชื่อม
Qu'est-ce qui sent bon? (อะไรกลิ่นดี / อะไรรสชาติดี)
Je sais ce qui sent bon. (ฉันรู้แหล่ะว่าอะไรอร่อย)
Qu'est-ce qui t'empêche de sortir? (อะไรทำให้เธอรีบออกไป)
Dis-moi ce qui t'empêche de sortir. (บอกหน่อยสิอะไรที่ทำให้เธอรีบออกไป)
Si
Si 1 ในเงื่อนไขที่เป็นไปได้ เป็นการสมมติในสิ่งที่อาจจะเป็นจริงหรือเกิดขึ้นได้ หรือต้องการสมมติในสิ่งที่เป็นอนาคต มี 3 รูปแบบคือ
1. Si présent + présent.
เงื่อนไขแบบนี้ มักใช้ในเหตุการณ์ที่เป็นจริงเสมอ
S'il fait beau, nous allons nous promener dans le parc.
Si c'est l'été, il fait chaud en Thaïlande.
2. Si présent + futur simple.
เงื่อนไขที่คาดว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จะทำอะไรบ้าง
S'il fait beau, j'irai au Luxembourg.
Elle sera amusé, si elle vient avec nous.
3. Si présent + impératif (ประโยคคำสั่ง)
การสมมติหรือคาดว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างที่คิด จงทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
Si vous avez assez d'argent, achetez ces livres.
Mange ces pains, si tu as faim.
Si 2 เป็นการสมมติสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน แต่อาจเป็นไปได้ในอนาคต หรือต้องการสมมติในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน โครงสร้าง คือ
Si imparfait + conditionnel présent.
Si j'étais riche, j'achèterais une grande voiture.
Paul aurait de bonnes notes , s'il travaillait bien.
Si 3 เป็นการสมมติสิ่งที่เป็นไม่ได้ในอดีต
Si + le plus-que-parfait + conditionnel passé.
Si j'avais fait du sport, je me serais porté mieux.
Hier, je t'aurais pris à la gare, si tu m'avais dit.
Le Plus-que-Parfait
ฉันกินข้าวก่อนไปโรงเรียน
1. ฉันกินข้าว เกิดก่อนและจบก่อน
2. ฉันไปโรงเรียน เกิดหลังจากเหตุการณ์กินข้าวจบ
วิธีกระจายเป็น Le Plus-que-Parfait
1. ใช้ V.ช่วย V.avoir / V.être เป็น L'imparfait
2. ตามด้วย P.P. (Le Participe Passé) ของ V.นั้น
3. การแบ่ง V.ช่วย และกฏการ accord ต่างๆ เหมือนกับ Le Passé Composé
เช่น
V.mener (จูง พาไป) V.bondir (กระโดด)
J'avais mené. Nous avions mené. J'avais bondi. Nous avions bondi.
Tu avais mené. Vous aviez mené. Tu avais bondi. Vous aviez bondi.
Il / Elle avait mené. Ils / Elles avaient mené. Il / Elle avait bondi. Ils / Elles avaient bondi.
V.mettre (สวม ใส่ วาง) V.lire (อ่าน)
J'avais mis. Nous avions mis. J'avais lu. Nous avions lu.
Tu avais mis. Vous aviez mis. Tu avais lu. Vous aviez lu.
Il / Elle avait mis. Ils / Elles avaient mis. Il / Elle avait lu. Ils / Elles avaient lu.
V.passer (ผ่าน) V.se repentir (สำนึกผิด)
J'étais passé(e). Nous étions passé(e)s. Je m'étais repenti(e). Nous nous étions repenti(e)s.
Tu étais passé(e). Vous étiez passé(e)s. Tu t'étais repenti(e). Vous vous étiez repenti(e)s.
Il était passé. Ils étaient passés. Il s'était repenti. Ils s'étaient repentis.
Elle était passée. Elles étaient passées. Elle s'était repentie. Elles s'étaient repenties.
Elle est partie en france quand elle avait fini ses études.
Le Passé Composé Le Plus-que-Parfait
หล่อนไปประเทศฝรั่งเศสเมื่อหล่อนเรียนจบแล้ว
Nous avions déjà mangé quand les Tomah sont venus nous voir.
Le Plus-que-Parfait Le Passé Composé
พวกเราทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วตอนที่ครอบครัวโตม่าห์มาเหยี่ยมพวกเรา
L'imparfait
วิธีกระจาย
1. กระจาย V.เป็น présent ของประธาน Nous
2. ตัดหาง -ons ของ V.ออก
3. เติมหางของ L'Imparfait คือ
Je --- -ais Nous --- -ions
Tu --- -ais Vous --- -iez
Il / Elle --- -ait Ils / Elles --- -aient
V.manger (กิน) V.finir (เสร็จสิ้น)
Je mangeais. Nous mangeions. Je finissais. Nous finissions.
Tu mangeais. Vous mangeiez. Tu finissais. Vous finissiez.
Il / Elle mangeait. Ils / Elles mangeaient. Il / Elle finissait. Ils / Elles finissaient.
V.faire (ทำ) V.vendre (ขาย)
Je faisais. Nous faisions. Je vendais. Nous vendions.
Tu faisais. Vous faisiez. Tu vendais. Vous vendiez.
Il / Elle faisait. Ils / Elles faisaient. Il / Elle vendait. Ils / Elles vendaient.
V.ยกเว้น คือ
V.être V.pleuvoir (ฝนตก) V.falloir (ต้อง)
J'étais. Nous étions. Il plauvait. Il fallait.
Tu étais. Vous étiez.
Il / Elle était. Ils / Elles étaient.
วิธีการใช้ L'Imparfait
*กิริยาถูกแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ สภาพ หรือเป็น แอ๊กชั่น
**สภาพคือเหตุการณ์ที่เห็นแล้วค่อยๆดำเนินไปอย่างช้าๆ หรือเกิดขึ้นเป็นเวลานาน เช่น สภาพเสื้อผ้าที่ใส่ สภาพอากาศ เป็นต้น
***แอ๊กชั่นคือเหตุการณ์ที่เห็นว่าเกิดขึ้นแล้วจบลงทันที เช่น กระโดดถีบ วิ่ง เข้ามา ออกไป เป็นต้น
1.ใช้บรรยายเหตุการณ์ที่เป็นสภาพในอดีต เช่น
Hier, il faisait beau. Le soliel brillait. Le ciel était bleu et les oiseaux chantaient.
เมื่อวานนี้ อากาศดี ดวงอาทิตย์ส่องแสง ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าและเหล่านก็ร้องเพลง
2. บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือเป็นนิสัยในอดีต เช่น
L'année dernière, je me levais à 7 heures tous les jours. Mais maintenant, je me lève à 9 heures.
เมื่อปีที่แล้ว ฉันตื่น 7 โมงเช้าทุกวัน แต่เดี๋ยวนี้ฉันตื่น 9 โมง
3. บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน เช่น
Ayuthaya était la capitale de la Thaïlande.
อยุธยาเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
4. บรรยายเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นควบคู่กัน (หรือใช้เวลานานพอๆกัน) เช่น
Les parents regardaient la télévision pendant que nous faisions nos devoirs.
พ่อแม่ดูโทรทัศน์ในขณะที่พวกเราทำการบ้าน
5. ใช้คู่กับ Le passé composé
- เหตุการณ์ที่เกิดก่อนและกำลังดำเนินอยู่ใช้ L'Imparfait
- เหตุการณ์ที่มาเกิดตัดเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ และจบลงทันที ใช้ Le passé composé
เช่น
Maman lisait le journal quand je suis entré.
l'imparfait Le passé composé
แม่กำลังอ่านหนังสือพิมพ์เมื่อฉันเข้ามา
6. Si + Imparfait เป็นการเสนอแนะ เช่น
Si nous allions voir Anna ce soir ?
เราไปหาอันนากันมั้ยเย็นนี้
Si tu t'habillais comme ça.
เธอน่าจะแต่งตัวแบบนี้นะ
Le present
คำบอกเวลาของ temps นี้ ได้แก่ depuis (ตั้งแต่), maintenant (ตอนนี้), aujourd'hui (วันนี้), il y a เวลา que, ça fait เวลา que
โดยทั่วไปแล้วกริยาในภาษาฝรั่งเศสสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กริยากลุ่มที่ 1 - กริยาที่ลงท้ายด้วย -er
กริยากลุ่มที่ 2 - กริยาที่ลงท้ายด้วย -ir
กริยากลุ่มที่ 3 - กริยาที่ลงท้ายด้วย -ir , -oir , -re
การกระจาย V.gr.1
V.gr.1 ลงท้ายด้วย -er เวลากระจายตัด -er ออกแล้วเติม e,es,e,ons.ez.ent
Je - e
Tu - es
Il / Elle - e
Nous - ons
Vous - ez
Ils / Elles - ent
เช่น V.parler (พูด) V.regarder (มองดู)
Je parle. Je regarde.
Tu parles. Tu regardes.
Il / Elle parle. Il / Elle regarde.
Nous parlons. Nous regardons.
Vous parlez. Vous regardez.
Ils / Elles parlent. Ils / Elles regardent.
V.gr.1 มีกลุ่มพิเศษคือ กริยาบางตัวเวลากระจายต้องเปลี่ยนบางจุดเพื่อช่วยในการออกเสียง แต่หางยังเหมือนเดิม
1. ลงท้ายด้วย -cer
V. annoncer - ประกาศ V. effacer - ลบ
V. avancer - อยู่ข้างหน้า นำหน้า V. forcer - ทำให้มีกำลัง
V. balancer - ทำให้สมดุลย์ V. prononcer - ออกเสียง
V. commencer - เริ่มต้น V.placer - วาง
V. menacer - ขู่ V.remplacer - แทนที่
V. ที่ลงท้ายด้วย -cer นี้ เวลากระจายกับประธาน Nous ต้องเปลี่ยน c เป็น ç เช่น
V.avancer V. balancer
J'avance. Je balance.
Tu avances. Tu balances.
Il / Elle avance. Il / Elle balance.
Nous avançons. Nous balançons.
Vous avancez. Vous balancez.
Ils / Elles avancent. Ils / Elles balancent.
2. ลงท้ายด้วย -ger
V. allonger - ทำให้ยาว V. mélanger - ผสม
V. arranger - จัดการ V. nager - ว่ายน้ำ
V. changer - เปลี่ยน V. partager - แบ่ง
V. décourager - ทำให้เสียกำลังใจ V. interroger - ตั้งคำถาม ถาม
V. déranger - รบกวน V. manger - กิน
V. ที่ลงท้ายด้วย -ger เวลากระจายกับประธาน Nous ต้องเปลี่ยน e ก่อนเติมหาง เช่น
V.manger V.changer
Je mange. Je change.
Tu manges. Tu chamges.
Il / Elle mange. Il / Elle change.
Nous mangeons. Nous changeons.
Vous mangez. Vous changez.
Ils / Elles mangent. Ils / Elles changent.
3. ลงท้ายด้วย - yer
V. balayer - กวาด V. essayer - ลอง / พยายาม
V. nettoyer - ทำความสะอาด V. envoyer - ส่งไป
V. essuyer - ทำความสะอาด เช็ด V. renvoyer - ส่งไปอีกครั้ง
V. noyer - กดน้ำ V. effrayer - ทำให้กลัว
V. se noyer - จมน้ำ V. employer - รับจ้าง
V. ennuyer - ทำให้รำคาญ รบกวน V. s'ennuyer - รำคาญ
V. ที่ลงท้ายด้วย - yer เวลากระจาย เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติมหาง ยกเว้นประธาน Nous และ Vous เช่น
V. balayer V. nettoyer
Je balaie. Je nettoie.
Tu balaies. Tu nettoies.
Il / Elle balaie. Il / Elle nettoie.
Nous balayons. Nous nettoyons.
Vous balayez. Vous nettoyez.
Ils / Elles balaient. Ils / Elles nettoient.
4. ลงท้ายด้วย -e...er
V. geler - แข็ง กลายเป็นน้ำแข็ง V. se promener - เดินเล่น
V. modeler - เป็นแบบ V. lever - ยกขึ้น
V. peler - ปอกเปลือก V. élever - ยกขึ้น ชูขึ้น
V. mener - จูง V. peser - ชั่ง ตวง
V. amener - พามา V. acheter - ซื้อ
V. emmener - พาไป V. racheter - ซื้ออีกครั้ง
V. ที่ลงท้ายด้วย e...er เวลากระจายต้องเปลี่ยน e...หาง เป็น è...หาง ยกเว้นประธาน Nous และ Vous เช่น
V.acheter V. lever
J'achète. Je lève.
Tu achètes. Tu lèves.
Il / Elle achète. Il / Elle lève.
Nous achetons. Nous levons.
Vous achetez. Vous levez.
Ils / Elles achètent. Ils / Elles lèvent.
5. ลงท้ายด้วย -é...er
V. célébrer - เฉลิมฉลอง V. inquiéter - ทำให้กังวล
V. compléter - ทำให้สมบูรณ์ V. s'inquiéter - กังวล
V. considérer - พิจารณา V. préférer - ชอบมากกว่า
V. espérer - คาดหมาย V. protéger - ปกป้อง
V. désespérer - ทำให้หมดหวัง V. répéter - ทำซ้ำ
V. exagérer - โม้ พูดเกินจริง
V. ที่ลงท้ายด้วย é...er เวลากระจายต้องเปลี่ยน é เป็น è ยกเว้นประธาน Nous และ Vous เช่น
V.répéter V.exagérer
Je répète. J'exagère.
Tu répètes. Tu exagères.
Il / Elle répète. Il / Elle exagère.
Nous répétons. Nous exagérons.
Vous répétez. Vous exagérez.
Ils / Elles répètent. Ils / Elles exagèrent.
6. V.jeter และ V.appeler
2 ตัวพิเศษ เฉพาะ 2 ตัวเท่านั้นที่จะต้องมีการเบิ้ลเพื่อการออกเสียง ยกเว้นประธาน Nous และ Vous
V.jeter V.appeler
Je jette. J'appelle.
Tu jettes. Tu appelles.
Il / Elle jette. Il / Elle appelle.
Nous jetons. Nous appelons.
Vous jetez. Vous appelez.
Ils / Elles jettent Ils / Elles appellent.
V.sentir (รู้สึก ได้กลิ่น)
Je sens.
Tu sens.
Il / Elle sent.
Nous sentons.
Vous sentez.
Ils / Elles sentent.
กริยาที่กระจายเหมือนกัน ได้แก่ V.servir (บริการ), V.mentir (โกหก), V.dormir (นอนหลับ), V.endormir (ทำให้หลับ), V.partir (เดินทาง), V.sortir (ออกไป)
V.mettre (วาง)
Je mets.
Tu mets.
Il / Elle met.
Nous mettons.
Vous mettez.
Ils / Elles mettent.
กริยาที่กระจายเหมือนกัน ได้แก่ V.remettre (วางอีกครั้ง), V.admettre (รับเข้า), V.permettre (อนุญาต), V.premettre (สัญญา), V.transmettre (ส่งไป)
V.vendre (ขาย)
Je vends.
Tu vends.
Il / Elle vend.
Nous vendons.
Vous vendez.
Ils / Elles vendent.
กริยาที่กระจายเหมือนกัน ได้แก่ V.attendre (รอคอย), V.perdre (ทำหาย หลงทาง), V.rendre (คืน), V.descendre (ลง), V.entendre (ได้ยิน), V.répondre (ตอบ)
V.peindre (ทาสี)
Je peins.
Tu peins.
Il / Elle peint.
Nous peignons.
Vous peignez.
Ils / Elles peignent.
กริยาที่กระจายเหมือนกัน ได้แก่ V.repeindre (ทาสี), V.éteindre (ดับ), V.atteindre (บรรลุ), V.tiendre (ย้อมสี), V.craindre (กลัว), V.joindre (ยินดี), V.disjoindre (ไม่ยินดี), V.plaindre (บ่น)
V. vouloir (ต้องการ) V.pouvoir (สามารถ)
Je veux. Je peux.
Tu veux. Tu peux.
Il / Elle veut. Il / Elle peut.
Nous voulons. Nous pouvons.
Vous voulez. Vous pouvez.
Ils / Elles veulent. Ils / Elles peuvent.
กริยา 2 ตัว พิเศษที่ไม่สามารถกระจายได้กับประธานตัวอื่นนอกจาก Il คือ
V.falloir (ต้อง) V.pleuvoir (ฝนตก)
Il faut Il pleut.
Subjonctif
วิธีการกระจาย
1. กระจาย V. ใน temps Présent เป็นประธาน Ils
2. ตัดหาง -ent ออก แล้วเติมหางของ Sub คือ
Je / -e Tu / -es Il , Elle / -e Nous / -ions Vous / -iez Ils , Elles / -ent
V.parler ( parlent ) V.finir ( finissent )
que je parle. que nous parlions. que je finisse. que nous finissions.
que tu parles. que vous parliez. que tu finisses. que vous finissiez.
qu'il / elle parle. qu'ils / elles parlent. qu' il / elle finisse. qu' ils / elles finissent.
V.dormir ( dorment ) V.écrire ( écrivent )
que je dorme. que nous dormions. que j'écrive. que nous écrivions.
que tu dormes. que vous dormiez. que tu écrives. que vous écriviez.
qu' il / elle dorme. qu' ils / elles dorment. qu' il / elle écrive. qu' ils / elles écrivent.
V. ที่ไม่เป็นไปตามกฏ
V.être - sois sois soit soyons soyez soient
V.avoir - aie aies ait ayons ayez aient
V.faire - fasse fasses fasse fassions fassiez fassent
V.aller - aille ailles aille allions alliez aillent
V.pouvoir puisse puisses puisse puissions puissiez puissent
V.vouloir vueille vueilles vueille voulions vouliez vueillent
V.savoir - sache saches sache sachions sachiez sachent
V.venir - vienne viennes vienne venions veniez viennent
V.prendre prenne prennes prenne prenions preniez prennent
V.moirir - meure meures meure mourions mouriez meurent
V.recevoir reçoive reçoives reçoive recevions receviez reçoivent
V.devoir - doive doives doive devions deviez doivent
V.boire - boive boives boive buvions buviez boivent
V.croire - croie croies croie croyions croyiez croient
V.voir - voie voies voie voyions voyiez voient
V.s'asseoir m'asseye t'asseyes s'asseye nous assiyions vous assiyiez s'asseyent
m'assois t'assois s'assoit nous assoyons vous assoyez s'assoient
การเปรีบเทียบขั้นต่ำสุด
โครงสร้าง คือ V.être + le / la moins + Adj. หรือ le / la Adj. + N.
Jacques est le moins petit. (ฌาคเป็นคนที่ตัวเล็ก น้อยที่สุด (ตัวสูงที่สุด))
Ces garçon sont les moins gentils. (เด็กผู้ชายเหล่านี้มีความสุภาพน้อยที่สุด)
André est le moins ordonné. (อองเดรมีความเป็นระเบียบน้อยที่สุด)
การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Adv.
โครงสร้าง คือ V. + le moins + Adv.
Elle travaille le moins lentement. (หล่อนทำงานช้าน้อยที่สุด)
Elle explique le moins clairement. (หล่อนอธิบายได้ละเอียดน้อยที่สุด (อธิบายไม่รู้เรื่อง))
Venez le moins souvent possible. (มาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้)
Nous mangeons le moins. (พวกเราทานน้อยที่สุด)
การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Nom
โครงสร้าง คือ le moins de + Nom
C'est lui qui a le moins de capacité pour ce travail. (เขาเนี้ยแหล่ะ ที่มีความสามารถในการทำงานนี้น้อยที่สุด)
Elle a fait cela avec le moins d'attention. (หล่อนทำมันด้วยความระมัดระวังน้อยที่สุด)
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
Pierre est très sage. (ปิแยร์เป็นคนฉลาดมาก)
Paul est fort aimable. (ปอลเป็นคนน่ารักมากๆ)
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ของ Adj.
โครงสร้าง คือ V.être + le / la plus + Adj.
Mon père est le plus âgé dans la famille. (พ่อของฉันมีอายุมากที่สุดในครอบครัว)
C'est la plus belle pienture. (นี่คือภาพที่สวยที่สุด)
หากต้องการขยาย Adj. ของคำนามนั้นๆ สามารถใช้ le / la plus + Adj. + Nom ได้เลย
Hier, j'ai vu le film le plus amusant. (เมื่อวานฉันไปดูหนังที่สนุกที่สุดมา)
Mon plus beau costume est perdu. (ชุดที่สวยที่สุดของฉันหายไป)
Adj. ที่ต้องเปลี่ยนรูปในขั้นสูงสุด คือ
bon --- le meilleur bonne --- la meilleure
petit --- le moindre petite --- la moindre
le petit la petite
mauvais --- le pire maivaise --- la pire
le mauvais la mauvaise
Mon équipe est la meilleure. (อุปกรณ์ของฉันดีที่สุด)
Son travail est le meilleur. (งานของเขาดีที่สุด)
Mon meilleur ami m'a quitté. (เพื่อนที่ดีที่สุดของฉันทิ้งฉันไป)
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ของ Adv.
โครงสร้าง คือ V. + le plus + Adv.
Nous marchons le plus vite. (พวกเราเดินเร็วที่สุด)
Vous expliquez le plus clairement. (คุณอธิบายได้ชัดเจนที่สุด)
Venez le plus souvent possible. (มาให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะมาได้นะเธอ)
Adv. ที่ต้องเปลี่ยนรูปในขั้นสูงสุด คือ
bien --- le mieux
beaucoup --- le plus
peu --- le moins
Mon frère chante le mieux. (น้องชายของฉันร้องเพลงเพราะที่สุด)
Elle travaille le mieux. (หล่อนทำงานได้ดีที่สุด)
Cet élève travaille le plus. (นักเรียนคนนี้ทำงานเยอะที่สุดเลย)
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ของ Nom
โครงสร้าง le plus de + Nom.
Ce livre , je le lis avec le plus de plaisir. (หนังสือเล่มนี้ ฉันอ่านด้วยความพอใจมากที่สุด)
C'est elle qui a le plus de capacité pour ce travail. (หล่อนเนี้ยแหล่ะที่มีความสามารถสำหรับงานนี้มากที่สุด)
การเปรียบเทียบขั้นต่ำกว่า
โครงสร้าง คือ V.être + moins + Adj. + que
Sa femme est moins âgée que lui. (ผู้หญิงคนนี้มีอายุน้อยกว่าเขา)
L'argent est moins cher que l'or. (เงินแพงน้อยกว่าทอง)
Pepsi est moins bon que l'eau. (เป๊ปซี่ดีน้อยกว่าน้ำเปล่า)
Les sacs sont moins lourds que les valises. (กระเป๋าหนักน้อยกว่าประเป๋าเดินทาง)
การเปรียบเทียบ Adv. ขั้นต่ำกว่า
โครงสร้าง คือ V. + moins + Adv. + que
Elle parle le français moins bien que l'anglais. (หล่อนพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีน้อยกว่าภาษาอังกฤษ)
Elle s'est habillée moins lentement que d'habitude. (หล่อนแต่งตัวช้ากว่าปกติ)
Sortez moins souvent. (ออกไปข้างนอกให้บ่อยน้อยลงหน่อย)
การเปรียบเทียบ V. ขั้นต่ำกว่า
โครงสร้าง คือ V. + moins + que
Elle travaille moins que nous. (หล่อนทำงานน้อยกว่าพวกเรา)
Ce lustre éclaire moins que celui de salon. (โคมระย้าอันนี้ให้แสงน้อยกว่าโคมระย้าในห้อง)
การเปรียบเทียบ Nom ขั้นต่ำกว่า
1. เปรียบเทียบ ประธาน โครงสร้าง คือ V. + moins de + Nom + que
Elle a moins d'argent que nous. (หล่อนมีเงินน้อยกว่าพวกเรา)
2. เปรียบเทียบ คำนาม ของประธานนั้นๆ โครงสร้าง คือ V. + moins de + Nom + que de + Nom
Les Thaïlandais mangent moins de pain que de riz. (คนไทยทานขนมปังน้อยกว่าข้าว)
การเปรียบเทียบขั้นสูงกว่า
โครงสร้าง คือ V.être + plus + adj. + que
Mme. Aristide est plus âgée que Mme. Jérôme. (มาดาม อาริตีดมีอายุมากกว่ามาดาม เฌโรม)
Ces tartes sont plus chères que ces crêpes. (ขนามทาร์ตเหล่านี้แพงกว่าขนมแครป)
Cette chambre-ci est meilleure que celle-là. (ห้องนี้ดีกว่าห้องนั้น)
Ce jardin-ci est meilleur que celui-là. (สวนตรงนี้ดีกว่าสวนตรงนั้น)
*ในขั้นสูงกว่า Adj. ที่เปลี่ยนรูป คือ
bon --- meilleur / bonne --- meilleure - ดีกว่า
petit --- moindre / petite --- moindre - เล็กกว่า
plus petit plus petite
mauvais --- pire / mauvaise --- pire - แย่กว่า
plus maivais plus mauvaise
การเปรียบเทียบ Adv. ขั้นสูงกว่า
โครงสร้าง คือ V. + plus + Adv. + que
Il marche plus vite que sa soeur. (เขาเดินเร็วกว่าน้องสาวของเขา)
Elle parle plus couramment que sa soeur. (หล่อนพูดได้เชี่ยวชาญกว่าน้องสาวของหล่อน)
Nos chiens courent plus lentement que les leurs. (สุนัขของพวกเราวิ่งช้ากว่าของพวกเขา)
Ma soeur chante mieux que moi. (พี่สาวฉันร้องเพลงได้ดีกว่าฉัน)
Elle travaille mieux que lui. (หล่อนทำงานได้ดีกว่าเขา)
* ในขั้นสูงกว่า Adv. ที่เปลี่ยนรูป คือ
bien --- mieux
beucoup --- plus
peu --- moins
การเปรียบเทียบ V. ขั้นสูงกว่า
โครงสร้าง คือ V. + plus + que
Elle parle plus que moi. (หล่อนพูดมากกว่าฉัน)
Les pauvres travaillent plus que les riches. (คนจนทำงานหนักกว่าคนรวย)
การเปรียบเทียบ Nom ขั้นสูงกว่า
1. การเปรียบเทียบ ประธาน โครงสร้าง คือ V. + plus de + Nom + que
Elle a plus de frères que moi. (หล่อนมีน้องชายมากกว่าฉัน)
Nous avons fait plus de progrès que vous. (พวกเราทำความก้าวหน้าได้มากกว่าพวกคุณ)
2. การเปรียบเทียบ คำนาม โดยมีประธานแค่ตัวเดียว โครงสร้าง คือ V. + plus de + Nom + que de + Nom
Les Anglais boivent plus de thé que de café. (คนอังกฤษดื่มชามากกว่ากาแฟ)
Chez vous , il y a plus de chats que de chiens. (ที่บ้านของเธอน่ะ มีแมวมากกว่าสุนัข)
การเปรียบเทียบขั้นเท่ากัน
ไวยากรณ์ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบ Adj.
โครงสร้าง คือ V.être + aussi + Adj. + que
Ce jardin-ci est aussi beau que celui-là. (สวนตรงนี้สวยเท่ากับสวนตรงนั้น)
Cette chambre-ci est aussi belle que celle-là. (ห้องนี้สวยเท่ากับห้องนั้น)
Mme. Gilelle est aussi âgée que Mme. Duprè. (มาดาม ชิแอลแก่เท่ามาดาม ดูแปร)
Ces tartes sont aussi chères que ces crêpes. (ขนมทาร์ตพวกนี้แพงเท่ากับพวกขนมแครป)
2. การเปรียบเทียบ Adv.
โครงสร้าง คือ V. + aussi + Adv. + que
Ce jardin-ci coûte aussi cher que ce jardin-là. (สวนตรงนี้มีราคาแพงเท่ากับสวนตรงนั้น)
Vous parlez français aussi bien qu'elle. (พวกคุณพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีเท่ากับหล่อน)
Marc marche aussi rapidement que Jean. (มาร์คเดินเร็วเท่ากับฌ็อง)
Ce jardin se trouve aussi près de'ici que le marché. (สวนนี้อยู่ใกล้จากที่นี่เท่ากับตลาด)
3. การเปรียบเทียบ Verbe
โครงสร้าง คือ V. + autant que
Pierre mange autant que Philippe. (ปิแยร์ทานเท่ากับฟิลลิป)
Dans l'école, les étudiants travaillent autant qu'à l'université. (ในโรงเรียน นักเรียนเรียนหนักเท่ากับในมหาวิทยาลัย)
A Chiengmai , il pleut autant qu'à Chiengrai. (ที่เชียงใหม่ ฝนตกเท่ากับที่เชียงราย)
Paul s'est amusé autant que son ami. (ปอลสนุกเท่ากับเพื่อนของเขา)
4. การเปรียบเทียบ Nom
โครงสร้าง คือ
1. เปรียบเทียบ ประธาน V. + autant de + Nom que
J'ai acheté autant de pantalons qu'Aom. (ฉันซื้อกางเกงขายาวเท่ากับอ้อม)
En France , on prend autant de café qu'en Thaïlande. (ที่ประเทศฝรั่งเศส คนฝรั่งเศสดื่มกาแฟเท่ากับในประเทศไทย)
2. เปรียบเทียบ คำนาม ที่ประธานมี V. + autant de + Nom que de Nom
Chez moi , il y a autant de chats que de chiens. (ที่บ้านของฉันอ่ะนะ มีแมวเท่ากับหมาแหล่ะ)
J'ai autant de patience que d'imagination. (ฉันมีความอดทนเท่ากับมีความคิดสร้างสรรค์)
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553
เลิศรสสไตล์ฝรั่งเศส
เมื่อพูดถึงประเทศฝรั่งเศส สิ่งหนึ่งที่ขาดได้คือ อาหารเลิศรสนั่นเอง วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า อาหารจานเด็ดของชาวฝรั่งเศสนั้นมีอะไรกันบ้าง
1. Fruits de mer คือ อาหารทะเลสดๆ ประกอบด้วยกุ้ง หอย และปูหลากชนิดลวกพอสุก จัดวางบนน้ำแข็งเกล็ดในถาดใบโต รับประทานโดยการบีบมะนาว และจิ้มน้ำส้มสายชูใส่หัวหอมซอย ถ้าจะให้ดีต้องกลั้วคอด้วยไวน์ขาว และแนมให้หนักท้องด้วยข้าวไรย์ทาเนย อาหารจานนี้เป็นอาหารเมืองชายทะเลภาคตะวันตก
2. Cog au vin หรือ ไก่อบซอสไวน์แดงใส่หอม และเห็ดดุม เป็นอาหารที่ภัตตาคารแทบทุกแห่งจะต้องบรรจุไว้ในเมนู3. Soupe a loignon หรือซุปหัวหอม เป็นอาหารที่สำคัญอีกจานหนึ่ง หอมหัวใหญ่จะถูกหั่นเป็นเส้นบางๆ เคี่ยวจนเกือบเละในน้ำซุปรสเข้ม เมื่อจะเสิร์ฟ จึงลอยขนมปังที่อบร้อนโดยมีเนยแข็งวางอยู่ข้างบน
4. Escargots a la Bourguignonne หอยทากเอสคาร์โกอบจนสุก พอออกจากเตาร้อนๆก็เอาเนยสดที่ผสมเครื่องเทศใส่ลงไปจนเต็มปากหอย รับประทานเรียกน้ำย่อย5. Pate de foie gras ตับบดปรุงรสด้วยเครื่องเทศ ทำจากตับห่านหรือตับเป็ด หากไม่บดก็อาจเป็นชิ้นๆ ปรุงด้วยเหล้าบรั่นดี
ขนมปังขนมปังของฝรั่งเศสที่เรียกว่า บาแกตต์ (Baquette) มีเอกลักษณ์พิเศษกว่าใคร ด้วยการทำเป็นทรงยาวกว่า 2 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว เวลาทานมักบิออกด้วยมือ หรือฝานออกเป็นชิ้นๆ อีกชนิดที่นิยมคือ ครัวซอง
ที่ขาดไม่ได้คือขนมหวาน ขนมหวานที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่
1. เครป (Crepe) เป็นเสมือนอาหารว่างมากกว่า พบเห็นทั่วไป ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ เครปซูเซตต์ หรือเครปน้ำตาลใส่น้ำส้มและเหล้า
2. มารองกลาสเซ่ (Marron Glace) หรือเกาลัดเชื่อมหวานสนิม ร้านที่ขายที่ขึ้นชื่อ คือร้าน Fauchon
3. เอแคลร์ (Eclair) ขนมอบใส่ใส้ครีม
ขนมว่างเป็นอาหารง่ายที่กินระหว่างมื้อ ที่ขึ้นชื่อก็คือ โคร้ก เมอซิเออร์ (Croque monsieur) ซึ่งเป็นแซนวิช
วางแฮมและเนยแข็งไว้ข้างบนแล้วเข้าอบ
ถ้าวางไข่ดาวด้วยเรียก โคร้ก มาดาม (Croque madam)
อย่าลืมลองทานกันนะคะ
การเปลี่ยนAdj.เพศชายเป็นเพศหญิง
วันนี้ก็เป็นเรื่องเบสิคที่ควรรู้ นั่นก็คือการเปลี่ยนเพศ Adj. นั่นเอง
มีหลักง่ายๆดังนี้
1. เติม e ท้ายคำ Adjectif
เช่น joli(โฌ-ลี) เป็น jolie สวย น่ารัก (โฌ-ลี)
ระวังซักนิด Adjectif บางตัว เมื่อเติม e จะออกเสียงเปลี่ยนไป เช่น chaud(โช) เป็น chaude ร้อน (โชด)
ถ้าลงท้ายด้วย -el ให้เติม L อีกหนึ่งตัวก่อนเติม E เช่นnaturel เป็น naturelle ธรรมชาติ (นา-ตู-แรล)
ถ้าลงท้ายด้วย -en, -on ให้เติม N อีกหนึ่งตัวก่อนเติม E เช่น bon(บง) bonne ดี (บอน)
ยกเว้น prochaine, fine, brune ไม่ต้องเพิ่ม N เป็นต้น
ข้อควรจำ gentil(ฌอง-ตี) เป็น gentille ใจดี(ฌอง-ตี-ย)
2. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย -er และ -ier ให้เปลี่ยนเป็น -ère และ -ière
เช่น léger(เล-เฌ) เป็น légère เบา (เล-แฌร์)
premier(เพรอะ-มิ-เย) เป็น première อันดับหนึ่ง (เพรอะ-มิ-แยร์)
3. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย -f ให้เปลี่ยนเป็น -ve
เช่น neuf(เนิฟ) เป็น neuve ใหม่(เนิฝ)
4. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย -et ให้เปลี่ยนเป็น -ète
เช่น complet(กง-เปล่) เป็น complète สมบูรณ์(กง-แปล็ต)
5. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย -eux ให้เปลี่ยนเป็น -euse
เช่น heureux(เออ-เรอ) เป็น heureuse มีความสุข (เออ-เรอส)
6. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย -e อยู่แล้วไม่เปลี่ยนรูป
เช่น calmeสงบเงียบ (กาม), tranquille สงบเงียบ (ทรอง-กี-ล)
Adjectif เหล่านี้เปลี่ยนรูปและการออกเสียงเมื่อเป็นเพศหญิงเพศชายเพศหญิงเพศชายเพศหญิง จำไว้ให้ดีนะคะ
gros (โกร) เป็น grosse อ้วน (โกรส)
doux (ดู) เป็น douce อ่อนนุ่ม (ดูซ)
nouveau (นู-โว) เป็น nouvelle ใหม่ (นู-แวล)
vieux (วิ-เยอ) เป็น vieille แก่ (วิ-ไย)
beau (โบ) เป็น belle สวย (แบล)
long (โลง) เป็น longue ยาว (โลง-เกอะ)
frais (เฟร) เป็น fraîche สดชื่น(แฟรช)
blanc (บลอง) เป็น blanche ขาว (บลอง-ช)
sec (เซ็ก) เป็น sèche แห้ง (แซช)
mou (มู) เป็น molle นุ่มนิ่ม (มอล)
épais (เอ-เป) เป็น épaisse หนา (เอ-แปส)
faux (โฟ) เป็น fausse ปลอม (โฟส)
ฝึกการเปลี่ยน Adjectif เพศชายให้เป็นเพศหญิงให้แม่น แล้วเวลาทำ Adverbe จะทำได้สบายๆ
แถม การเปลี่ยน Adjectif เอกพจน์เป็นพหูพจน์
1. โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีเติม S ท้ายคำ (ไม่ออกเสียง S)
เช่น bon เป็น bons
bonne เป็น bonnes
2. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย s หรือ x ไม่เปลี่ยนรูป
เช่นun garçon heureux des garçons heureux
3. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย -eau ให้เติม x
เช่น un nouveau livre เป็น de nouveaux livres
4. Adjectif ที่ลงท้ายด้วย -al ให้เปลี่ยนเป็น -aux
เช่นun projet national เป็น des projets nationaux
Adjectif ส่วนใหญ่นิยมวางไว้หลังคำนามที่มันขยาย เช่น Une maison blanche บ้านสีขาวแต่ Adjectif บางตัวนิยมวางไว้หน้าคำนาม เช่น joliสวย, jeuneหนุ่มสาว, beauสวย, petitเล็ก, mauvaisไม่ดี, nouveauใหม่, grosอ้วน เป็นต้น