วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

Les Pronoms Possessifs

Les Pronoms Possessifs คือ สรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งใช้คู่กับ Les Adjectifs Possessifs Les Adjectifs Possessifs คือ คำคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้า เวลาใช้ต้องประกอบกับคำนาม มีดังนี้ Je mon (นามเพศชาย เอกพจน์) ma (นามเพศหญิง เอกพจน์) mes (นามพหูพจน์) Tu ton (นามเพศชาย เอกพจน์) ta (นามเพศหญิง เอกพจน์) tes (นามพหูพจน์) Il / Elle son (นามเพศชาย เอกพจน์) sa (นามเพศหญิง เอกพจน์) ses (นามพหูพจน์) Nous notre (นามเพศชาย หรือ เพศหญิง เอกพจน์) nos (นามพหูพจน์) Vous votre (นามเพศชาย หรือ เพศหญิง เอกพจน์) vos (นามพหูพจน์)Ils / Elles leur (นามเพศชาย หรือ เพศหญิง เอกพจน์) leurs (นามพหูพจน์) วิธีการใช้ Adj.P. (les Adjectifs Possessifs) 1. หาเจ้าของ ของคำนามนั้น 2. มาดูเพศและพจน์ของคำนาม J'aime mon père. (ฉันรักพ่อของฉัน) père เป็นเพศชายเอกพจน์ เจ้าของคือ Je จึงใช้ mon Le professeur parle à ses élèves. (คูรพูดกับนักเรียนของเขา) élèves เป็นนามพหูพจน์ เจ้าของคือ Le professeur = Il จึงใช้ ses
Les Pronoms Possessifs คือ คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ เวลาใช้จะไม่มีคำนามอีก จะกล่าวถึง สิ่งนั้น ที่เคยกล่าวเป็น Adj.P. แล้ว มีดังนี้ Je le mien (n.m.s.) la mienne (n.f.s.) les miens (n.m.p.) les miennes (n.f.p.) Tu le tien (n.m.s.) la tienne (n.f.s.) les tiens (n.m.p.) les tiennes (n.f.p.) Il / Elle le sien (n.m.s.) la sienne (n.f.s.) les siens (n.m.p.) les siennes (n.f.p.) Nous le nôtre (n.m.s.) la nôtre (n.f.s.) les nôtres (n.m/f.p.) Vous le vôtre (n.m.s.) la vôtre (n.f.s.) les vôtres (n.m/f.p.)Ils / Elles le leur (n.m.s.) la leur (n.f.s.) les leurs (n.m/f.p.)*(n.m.s.) = คำนามเพศชาย เอกพจน์ (n.f.s.) = คำนามเพศหญิง เอกพจน์ (n.m.p.) = คำนามเพศชาย พหูพจน์ (n.f.p.) = คำนามเพศหญิง พหูพจน์ (n.m/f.p.) = คำนามเพศชาย หรือ เพศหญิง พหูพจน์วิธีการใช้ Les Pronoms Possessifs 1. หาเจ้าของ ของคำนามที่เคยกล่าวถึงแล้ว 2. ดูเพศและพจน์ของคำนาม Sa maison est grande; la mienne est petite. (บ้านของเขาใหญ่ บ้านของฉันเล็ก) la mienne มาจาก ma maison แต่ไม่นิยมกล่าวซ้ำจึงใช้เป็น Pronom Possessif แทน Pour les vieux sans famille leurs misères sont plus grandes que les vôtres. (ความทุกข์ของคนแก่ที่ไม่มีครอบครัวใหญ่กว่าความทุกข์ของพวกคุณ) les vôtres มาจาก vos misères

Les Pronoms Relatifs Variables

Les Pronoms Relatifs Variables คือ ประพันธสรรพนามที่สามารถเปลี่ยนรูปได้ มี 4 ตัวหลักๆ คือ

lequel แทนคำนามเพศชายเอกพจน์
laquelle แทนคำนามเพศหญิงเอกพจน์
lesquels แทนคำนามเพศชายพหูพจน์
lesquelles แทนคำนามเพศหญิงพหูพจน์

ซึ่งประพันธสรรพนามในหมวดนี้ จะใช้เชื่อมประโยคที่ตามหลังด้วยบุพบท

วิธีใช้ คือ
1. หาบุพบทที่อยู่หน้าคำนามที่ซ้ำกัน
2. เปลี่ยนเป็นคำนาม Pronom Relatif Variable โดยต้องมีเพศและพจน์เดี่ยวกับคำนาม
3. ซ้ำคำไหน ยกคำบุพบท และ Pronom Relatif Variable ไปไว้หลังคำนั้นและตามด้วยประโยคที่เหลือ


ในกรณีที่บุพบทที่นำหน้าเป็น à หรือ de
à + lequel = auquel de + lequel = duquel
à + laquelle = à laquelle de + laquelle = de laquelle
à + lesquels = auxquels de + lesquels = desquels
à + lesquelles = auxquelles de + lesquelles = desquelles


การใช้ P.R.V. (les Pronoms Relatifs Varibles)

Voici le coiffeur. Je vais souvent chez le coiffeur.
1. หาบุพบทและคำซ้ำ - chez le coiffeur
2. เปลี่ยนเป็น P.R.V. - chez lequel
3. ซ้ำคำไหนยกไปไว้หลังคำนั้น จะได้ประโยคใหม่ว่า
Voici le coiffeur chez lequel je vais souvent.

Les cours sont le cours de français et celui d'italian. Je m'intéresse à ces cours.
1. หาบุพบทและคำซ้ำ - à ces cours.
2. เปลี่ยนเป็น P.R.V. - auxquels
3. ซ้ำคำไหนยกไปไว้หลังคำนั้น จะได้ประโยคใหม่ว่า
Les cours auxquels je m'intéresse sont le cours de francais et celui d'italian.

L'été est une saison. Il fait très chaud pendant cette saison.
1. หาบุพบทและคำซ้ำ - pendant cette saison.
2. เปลี่ยนเป็น P.R.V. - pendant laquelle
3. ซ้ำคำไหนยกไปไว้หลังคำนั้น จะได้ประโยคใหม่ว่า
L'été est une saison pendant laquelle il fait très chaud.


Les Pronoms Relatifs Invariables

Les Pronoms Relatifs Invariables คือ ประพันธสรรพนามที่ไม่มีการเปลี่ยนรูป ทำหน้าที่เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน มีดังนี้ คือ qui , que , dont , où


วิธีการเชื่อมประโยค
1. หาคำซ้ำในทั้ง 2 ประโยค
2. ดูหน้าที่ของคำที่ซ้ำในประโยคที่ 2
3. ซ้ำคำไหน ยกประพันธสรรพนามและประโยคย่อยไปไว้หลังคำนั้น คำที่อยู่ด้านหน้าประพันธสรรพนามนั้นเรียกว่า antécédent


Qui ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยคย่อย แทนนามหรือสรรพนามของประโยคที่อยู่ด้านหน้า ( qui + V. )

J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.
มาจาก 2 ประโยคคือ
J'ai dîné dans un restaurant. Le restaurant est près de chez nous.
1. หาคำซ้ำ - le restaurant.
2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นประธานแทนด้วย qui
3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ J'ai dîné dans un restaurant qui est près de chez nous.

Nous voyons des enfants qui reviennent de la plage.
มาจาก 2 ประโยค คือ
Nous voyons des enfants. Les enfants reviennent de la plage.



Que ทำหน้าที่เป็น"กรรมตรง" ของกริยาในประโยคย่อย que จะมีเพศและพจน์ตาม antécédent ( que + ประโยค )

Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.
มาจาก 2 ประโยค คือ
Le marché flottant est à Damnarn Saduak. J'ai visité le marché flottant.
1. หาคำซ้ำ - Le marché flottant.
2. ดูหน้าที่ในประโยคที่ 2 - ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงแทนด้วย que
3. ยกไปไว้หลังคำที่ซ้ำ Le marché flottant que j'ai visité est à Damnern Saduak.

Voici le pont que je traverse pour aller à l'université.
มาจาก 2 ประโยค คือ
Voici le pont. Je traverse le pont pour aller à l'université.


Dont มีวิธีการใช้ 2 อย่าง คือ

1. แทนคำนามในประโยคย่อยที่มี de นำหน้า (คำนามที่ตามหลังกริยาที่มี de) เช่น
V.avoir envie de อยาก
V.avoir besoin de ต้องการ
V.penser de คิดเกี่ยวกับ
V.parler de พูดเกี่ยวกับ
V.se servir de ใช้

C'est un livre dont j'ai besoin.
มาจาก 2 ประโยค คือ
C'est un livre. J'ai besoin de ce livre.

C'est la voiture dont son père se sert.
มาจาก 2 ประโยค คือ
C'est la voiture. Son père se sert de cette voiture.

C'est un problème dont je pense souvent.
มาจาก 2 ประโยค คือ
C'est un problème. Je pense de ce problème souvent.

2. แทนคำนามที่ตามหลัง de แปลว่า ของ หรือการแสดงความเป็นเจ้าของ
Voici mon amie dont le nom est Simone.
มาจากประโยค
Voici mon amie, le nom de cette amie est Simone.

Voici la rue de la ville dont je ne connais pas le nom.
มาจากประโยค
Voici la rue de la ville, je ne connais pas le nom de la ville.

J'aime la maison dont le jardin est beau.
มาจาก 2 ประโยค คือ
J'aime la maison. Son jardin est beau. (Le jardin de la maison)

*คำนามที่ตามหลัง dont ต้องขึ้นต้นด้วย le la les


Où มีวิธีใช้ ดังนี้

1. แทนสถานที่
Il me parle du pays où il a passé son enfance.
(ไม่ใช่กรรมตรงของประโยคที่ 2 แต่เป็นส่วนขยาย)
La piscine où nous nous baignons est très propre.

2. แทนเวลา
Le dimanche est le jour où l'on ne travaille pas.
C'est à huit heures où les enfants vont à l'école.


P.S.
1. qui + V. / que + ประโยค

2. บางครั้งประโยคย่อยอาจสลับตำแหน่ง V. กับ Sujet ต้องดูให้ดีว่ากริยานั้นประธานตัวใดเป็นผู้กระทำ เช่น J'aime la maison que habitent les Dubois. V.habiter ไม่ได้กระจายกับ la maison แต่กระจายกับ les Dubois

3. ใน Le Passé Composé ประโยคใดมี que ต้อง accord ตาม antécédent เช่น J'aime beaucoup les pommes que ma mère a achetées ce matin. เป็นต้น

4. ถ้าประโยคย่อยอันไหนดูที่ V. แล้วเป็น V. ที่ต้องมีกรรม แต่ในประโยคไม่มีกรรม ใช้ que

5. หาก เวลาและสถานที่ เป็นกรรมของประโยค ต้องใช้ que

6. หากดูแล้วว่ามันไม่ใช่ทั้งประธาน ไม่ใช่กรรม และไม่มี de นำ เป็น où ได้เท่านั้น (หลายคนใช้ où ไม่ถูกต้อง)

Les Pronoms Personnels

Les Pronoms Personnels คือ บุรุษสรรพนาม ซึ่งแยกเป็น 3 บุรุษ คือ 1.ผู้พูด 2.ผู้พูดด้วย 3.ผู้กล่าวถึง และบุรุษสรรพนามนี้ยังสามารถแยกได้ตามหน้าที่ คือ
1. Sujets เป็นประธาน
2. Objets directs เป็นกรรมตรง
3. Objets indirects เป็นกรรมรอง
4. Objets après une préposition เป็นกรรมตามหลังบุพบท


รูปของ Pronoms Personnels มีดังนี้
Sujets Objets direct (C.O.D.) Objets indi rect (C.O.I) Pronoms Toniques
Je me me moi
Tu te te toi
Il le lui lui
Elle la lui elle
Nous nous nous nous
Vous vous vous vous
Ils les leur eux
Elles les leur elles

Sujet คือ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค


Objets direct คือ กรรมตรงของประโยค กรรมตรงคือ คำนามที่ตามหลังประโยคโดยไม่มีบุพบทมาคั่น คำนามนั้นจัดว่าเป็นกรรมตรง เช่น

Hier, j'ai vu ta soeur.
ta soeur เป็นเพศหญิง เอกพจน์ จึงแทนด้วย la แล้วนำมาไว้หน้า V.
- Hier, je l'ai vue (ลดรูปเพราะติดสระ และ accord ตามเพศประธานตามกฏของการaccord le passé composé.)

Nous regardons cet arbre.
cet arbre เป็นเพศชาย เอกพจน์ จึงแทนด้วย le แล้วนำมาไว้ หน้า V.
- Nous le regardons.


Objets indirects คือ กรรมรองที่จะใช้กับคนเท่านั้น V.ที่มีคำบุพบทขั้นหน้าคำนาม(คน) จัดเป็นกรรมรอง เช่น à + คน

Je parle à Paul
à Paul เป็น กรรมรอง เพศชาย เอกพจน์ จึงเปลี่ยนเป็น lui แล้วนำไปวางหน้า V.
- Je lui parle.

Est-ce que tu donne ces deux timbres à moi ?
ในประโยคนี้มีทั้งกรรมตรง และ กรรมรองในประโยค ในตอนนี้ดูทื่กรรมรองก่อน ก็คือ à moi คือ ให้กับฉัน จึงเปลี่ยนเป็น me และสามารถเขียนใหม่ได้ว่า
- Est-ce que tu me donne ces deux timbres ?
และกรรมตรงในประโยคนี้ก็คือ ces deux timbres เป็นเพศชาย พหูพจน์ก็คือ les เราสามารถตอบประโยคนี้ได้ว่า
- Oui, je me les donne.

*มีกิริยา 2 ตัว ที่ตามหลัง à แต่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น กรรมรองได้ คือ
V.être à - เป็นเจ้าของ
V.penser à - คิดถึง


Pronoms Toniques กรรมที่ตามหลังคำบุพบท ทำหน้าที่ตรงตามชื่อของมัน คือเป็นกรรมที่ตามหลังคำบุพบท เช่น

Est-ce que tu es chez toi ?
toi อยู่หลัง บุพบท chez (ที่บ้าน) ถามว่า เธออยู่ที่บ้านของเธอมั้ย ไม่เขียนว่า Est-ce que tu es chez tu ? หลัง บุพบทต้องเปลี่ยน tu เป็น toi
- Oui, je suis chez moi.

Est-ce que Simine sort avec Pierre ?
- Oui, elle sort avec lui.

*กรรมหลังคำบุพบทนี้ ไม่เพียงแต่อยู่หลังคำบุพบทเท่านั้น แต่หากว่าอยู่ด้านหน้าประโยค จะเป็นการเน้นประธานตัวนั้น
Moi, je prends mes valises. Lui, il prend les sienne.
En
En เป็น Pronom Personnel Invariable หรือ บุรุษสรรพนามที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
วิธีใช้
1. ใช้แทนคำนามที่ตามหลัง de ซึ่งจะตามหลัง V. หรือ Adj. เช่น
V.avoir besoin de - ต้องการ
V.se souvenir de - ใช้
V.être fier de - ภูมิใจ
เป็นต้น
Est-ce que tu te souviens des leçon de français ?
- Oui, je m'en souviens.
Elle a réussi à l'examen. Elle en est fière.
en ในที่นี้มาจาก Elle est fière de l'examen.
2. ใช้แทนนามที่ตามหลัง du , de la , de l' , des (Articles Partitifs) ซึ่งเป็นนามนับไม่ได้ บางเพียงส่วน ส่วนหนึ่ง
Est-ce que vous voulez encore de l'eau ?
คุณต้องการน้ำอีกมั้ย
- Non merci, je n'en veux plus.
ไม่ครับ ขอบคุณ ฉันไม่ต้องการมันแล้ว มาจาก je ne veux plus de l'eau.
Vous buvez du café noir ?
คุณดื่มกาแฟดำมั้ย
- Non, je n'en prends jamais.
ไม่ครับ ผมไม่เคยดื่มมันเลย มาจาก je ne prends jamais du café noir.
3. แทนคำนามที่ตามหลังด้วยตัวเลขบอกจำนวน หรือ คำคุณศัพท์ที่บอกปริมาณ
Combien d'enfants avez-vous ?
คุณมีลูกกี่คน
- J'en ai deux.
ฉันมีลูกสองคน มาจาก j'ai deux enfants แต่ว่าเราได้กล่าวถึงคำนามนั้นมาแล้ว จึงแทนด้วย en ได้
Il y a beaucoup de Français en Thaïlande ?
มีคนฝรั่งเศสในประเทศไทยเยอะรึเปล่า
- Non , il y en a peu.
ไม่ล่ะ มีนิดเดียว มาจาก il y a peu de Français. de Français ตามหลังคำคุณศัพท์บอกจำนวน จึงเปลี่ยนเป็น en

Y
y เป็น Pronom Personnel Invariable เช่นเดียวกัน
วิธีใช้
1. ใช้แทนคำนามที่เป็น สิ่งของ สถานที่ ที่ตามหลังด้วยบุพบท à
Cette lettre ? Je vais y répondre.
จดหมายนี่เหรอ เดี๋ยวฉันจะตอบมัน มาจาก Je vais répondre à la lettre.
Tu iras à la plage en vacances ?
ตอนวันหยุดเธอจะไปทะเลมั้ย
- Oui , j'y irai.
จ๊ะ ฉันจะไป มาจาก j'irai à la plage.

2. แทนคำนามที่ตามหลัง คำบุพบทบอกสถานที่เหล่านี้
en / dans - ใน
sur - บน sous - ใต้
chez - ที่บ้าน
à - ที่
devant - ข้างหน้า derrièr - ข้างหลัง
Les devoirs sont - ils sur la table ?
การบ้านอ่ะ อยู่บนโต๊ะรึเปล่า
- Oui , ils y sont depuis une semaine.
ใช่ มันอยู่บนนั้นมาตั้งสัปดาห์นึงแล้ว มาจาก ils sont sur la table depuis une semaine.
Est-ce que vous irez chez moi ce soir ?
นี่พวกแกจะไปบ้านฉันมั้ยเย็นนี้
- Mais oui , on y ira.
แน่นอน พวกเราไปแน่ มาจาก on ira chez toi.

Le (Pronom Neutre)
วิธีใช้
1. ใช้แทน Adj. หรือ คำนามบอกอาชีพ ที่ตามหลัง V.être ที่กล่าวมาแล้ว
Vos enfants sont malades ?
ลูกๆของเธอไม่สบายเหรอ
- Oui , ils le sont.
อื้ม พวกเขาป่วย มาจาก ils sont malades แต่ Adj. นั้นถูกกล่าวมาแล้วจึงแทนด้วย le
Est-ce que ton père est médecin ?
พ่อเธอเป็นหมอเหรอ
- Non , il ne l'est pas. Il est professeur.
ไม่ใช่อ่ะ ไม่ได้เป็นหมอ เป็นครูต่างหาก มาจาก il n'est pas médecin.
2. แทนประโยคทั้งประโยค ที่กล่าวถึงมาแล้ว
Mes parents me demandent de travailler plus dur mais je ne le peux pas.
พ่อแม่ฉันบอกสั่งว่า ให้ฉันทำงานหนักกว่านี้ แต่ ฉันทำมัน(เรียนหนัก)ไม่ได้
le แทนประโยคข้างหน้า
Qui a pris mon stylo ? Le savez-vous ?
ใครเอาปากกาฉันไปเนี้ย เธอรู้มั้ย(ว่าใครเอาปากกาฉันไป)

วิธีการเรียง Pronom Personnel
ในบางกรณีบาง Pronom Personnel หลายตัวในประโยคเดียวกัน วิธีการที่จะเรียงให้ถูกต้อง คือ

Sujet me le lui y en
te la leur V.
se les
nous
vous

* Pronom ตัวนั้นเป็นของ V. ใดต้องอยู่หน้า V. นั้นๆ

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

Les Articles Contractés

Les Articles Contractés คือ คำนำหน้านามที่มีการลดรูป มี 2 ชนิด คือ

1. Article Contracté ประเภทแรก คือการรวม de กับ les articles définis มี ทั้งหมด 4 รูป คือ
du คือ de + le นำหน้าคำนามเพศชายเอกพจน์
de la คือ de + la นำหน้าคำนามเพศหญิงเอกพจน์
de l' คือ de + l' นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่นำหน้าด้วยสระหรือ h muet
des คือ de + les นำหน้าคำนามทั้งเพศหญิงเพศชาย พหูพจน์

*คำนำหน้านามเหล่านี้ หากอยู่ระหว่างคำนาม แปลว่า "ของ"
Le pontalon du professeur est brun.
กางเกงของคุณครูเป็นสีน้ำตาล

Les aiguilles de la montre sont noires.
เข็มของนาฬิกาเป็นสีดำ

La longue aiguille de l'horloge ne marche plus.
เข็มยาวของนาฬิกาไม่เดินอีกแล้ว

Les robes des filles sont roses.
ชุดกระโปรงของเด็กผู้หญิงเป็นสีชมพู

**แต่ถ้าคำนามด้านหลังเป็นชื่อเฉพาะ ใช้ de ได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนรูป
**การใช้ des ซึ่งซ้ำกับ Les articles indéfinis หากแปลแล้วได้ใจความว่า"เป็นของ" จึงเป็น Article Contracté


2. Article Constracté ประเภที่ 2 คือการรวม à กับ les articles indéfinis ทั้งหมดมี 4 รูป คือ
au คือ à + le นำหน้าคำนามเพศชาย เอกพจน์
à la คือ à + la นำหน้าคำนามเพศหญิง เอกพจน์
à l' คือ à + l' นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง เอกพจน์ ที่ขึ้นต้นด้วย สระ หรือ h muet
aux คือ à + les นำหน้าคำนามทั้งเพศชาย และเพศหญิง พหูพจน์

*คำนำหน้านามเหล่านี้จะตามหลัง V.บางตัว แปลว่า "กับ / แก่"
L'étudiante parle au professeur.
นักเรียนหญิงคุยกับครู

Le professeur donne les livres à la femme professeur.
ครูผู้ชายให้หนังสือแก่ครูผู้หญิง

La professeur donne les livres à l'étudiant.
ครูให้หนังสือกับเด็กนักเรียน

L'étudiant donne les livres aux amis.
นักเรียนให้หนังสือกับเพื่อนๆ

Les Articles définis

Les Articles définis คือ คำนำหน้านามที่มีการใช้กับคำนามที่เฉพาะเจาะจง มี 4 ประเภท คือ
le นำหน้าคำนามเพศชาย เอกพจน์
la นำหน้าคำนามเพศหญิง เอกพจน์
l' นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง เอกพจน์ แต่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือ h muet
les นำหน้าคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง พหูพจน์

การใช้ Les articles définis มีดังนี้
1. ใช้นำหน้าคำนามที่มีการกล่าวถึงแล้ว
Voilà une fille, maintenant la fille est en train de s'approcher.
นั้นไงเด็กผู้หญิงคนนึง ตอนนี้เด็กผู้หญิงคนนั้นกำลังเข้ามาใกล้ๆแล้ว...

2. นำหน้านามที่มีสิ่งเดียวในโลก
Le soliel (ดวงอาทิตย์)
La Seine (แม่น้ำแซน)
La France (ประเทศฝรั่งเศส)
L'Asie (ทวีปเอเชีย)

3. ใช้นำหน้านามที่ต้องการชี้เฉพาะ
Le dentiste que j'ai vu. il est très beau.
หมอฟันคนนี้ที่ฉันไปพบมาน่ะเธอ เขาหล๊อ หล่อ ล่ะ

Les Articles Indefinis

Les Articles Indefinis คือ คำที่ใส่นำหน้านามเพื่อบอกเพศและพจน์ของคำนาม เมื่อมาวางหน้าคำนามทำให้ความหมายของคำนามนั้นเป็นนามทั่วๆไป ไม่ชี้เฉพาะ ไม่เจาะจง มี 3 รูป คือ
un นำหน้าคำนามเพศชายเอกพจน์
une นำหน้าคำนามเพศหญิงเอกพจน์
des นำหน้าคำนามพหูพจน์ทั้ง 2 เพศ

Ce matin, j'ai vu un homme qui a été heurté.
เมื่อเช้านี้ ฉันเห็นผู้ชายคนหนึ่ง โดนรถชน

Ne sortez pas seul la nuit il y a partout des voleurs.
อย่าออกไปข้างนอกคนเดียวตอนกลางคืนนะ เพราะว่ามีพวกขโมยอยู่ทุกหนทุกแห่ง

Une dame m'a raconté des histoires intéressantes.
ผู้หณิงคนหนึ่งเล่าเรื่องน่าสนใจให้ฉันฟัง


*เพิ่มเติม
1. ในประโยคปฏิเสธ ยกเว้นประโยคที่ใช้ V.être คำนำหน้านาม un une des จะเปลี่ยนเป็น de
Elle n'achète pas de robes de cette boutique.
หล่อนไม่ซื้อกระโปรงจากร้านนี้

Dans cette chambre, il n'y a pas de lit.
ในห้องนี้ ไม่มีเตียง

Elle n'est pas une fille timide.
หล่อนไม่ใช่เด็กผู้หญิงขี้อาย


2. des เปลี่ยนเป็น de เมื่ออยู่หน้าคำนามที่มีคำคุณศัพท์ที่เป็นพหูพจน์ อยู่ด้านหน้า
Simone a reçu de belles fleurs.
ซีโมนได้รับดอกไม้สวยๆ

Le gouvernement a construit de nouvelles maisons pour les pauvres.
รัฐบาลได้สร้างบ้านใหม่ให้กับคนยากจน
**adj. ของภาษาฝรั่งเศสส่วนใหญ่จะวางไว้หลังคำนาม แต่มี adj. บางตัวที่อยู่หน้าคำนามเสมอ คือ

beau (belle) / laid (หล่อ (สวย) / ขี้เหร่)
grand / petit (ใหญ่ / เล็ก)
bon / mauvais (ดี / เลว)
longue (ยาว)
Nom
สี
สัญชาติ
ลักษณะ
adj. 3 พยางค์ขึ้นไป
court (สั้น)

P.S. การบอกอาชีพ ไม่มี Article เช่น
Je suis étudiant. เป็นต้น